วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ชื่อ :     นาย อัศม์เดช  แสนใจ
รหัสนักศึกษา  :     55323340   
หมู่เรียน :    55.ว4.002 
เกิดวันที่ :  05/03/36
ที่อยู่  :    285/244 ถ.ลำพูน  ต.วัดเกตุ  อ.เมืองเชียงใหม่  จ.เชียงใหม่ 50000


ปิ๊กมี่ดอร์เมาส์


จิ๋ว แต่ แจ๋ว .... นิยาม ของ  ปิ๊กมี่ดอร์เมาส์



               สัตว์ในกลุ่มของ “ดอร์เมาส์” ถูกจัดแยกออกมาจากกลุ่มหนูและกระรอก ปัจจุบันดอร์เมาส์มีประมาณ 20 สายพันธุ์ทั่วโลก พบที่ญี่ปุ่น ยุโรปและแอฟริกา ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นที่อยู่ สีสันและขนาดที่แตกต่างกันออกไป ดอร์เมาส์เกือบทุกชนิดจะมีลักษณะและรูปร่างคล้ายกระรอกมากกว่าหนูและสายพันธุ์ ที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามมากที่สุดคือ “ปิ๊กมี่ดอร์เมาส์” ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตอนกลางจนถึงตอนใต้ จัดเป็นดอร์เมาส์สายพันธุ์ที่เล็กที่สุด จนได้รับฉายาว่า “กระรอกจิ๋ว” เนื่องจากเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดของลำตัวเพียง 3-4 นิ้วเท่านั้น มีหางฟูยาวเท่ากับลำตัวสีขนด้านบนเป็นสีเทาอ่อนและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงเมื่อ อายุมากขึ้น ด้านท้องสีขาวครีม มีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ 25-30 กรัมเท่านั้น



                 นักวิทยาศาสตร์จัดดอร์เมาส์แยกออกจากกลุ่มหนูและกระรอก ซึ่งมีมากกว่า 20 สายพันธุ์ สามารถพบได้ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และแอฟริกา โดยแต่ละชนิดมีถิ่นที่อยู่ สีสัน และขนาดที่แตกต่างกันไป แต่เกือบทุกชนิดมีลักษณะรูปร่าง และนิสัยคล้ายกระรอก ซึ่งดอร์เมาส์ที่คุณปีย์เลี้ยงไว้นั้นเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุด คือ "ปิ๊กมี่ดอร์เมาส์" (African pygmy dormouse) มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตอนกลางจนถึงตอนใต้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุด จนมีฉายาว่ากระรอกจิ๋ว (micro squirrels) เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวเพียง 3-4 นิ้ว มีน้ำหนักแค่ประมาณ 25-30 กรัม มีหางฟูยาวเท่ากับลำตัว สีขนด้านบนเป็นสีเทาอ่อน แต่พออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ด้านท้องสีขาวครีม

          คุณปีย์ บอกว่า ในประเทศไทยนับว่ามีการนำเข้าดอร์เมาส์จากแอฟริกา และฟาร์มจากญี่ปุ่นเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น จึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีจำนวนน้อยมากในบ้านเรา ส่วนชื่อดอร์เมาส์ มาจาก คำว่า "Dor" ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า "ผู้หลับใหล" มันถูกเรียกตามพฤติกรรมที่ต้องนอนจำศีลตลอดฤดูหนาวที่อาหารขาดแคลน เมื่ออากาศเย็นลงดอร์เมาส์จะหาโพรงไม้ รังนกเก่า หรือแทะผลโอ๊กให้เป็นโพรงเพื่อเข้าไปจำศีล แต่พฤติกรรมนี้จะไม่เกิดในเมืองไทย เพราะเป็นเมืองร้อน ดังนั้นการเลี้ยงดอร์เมาส์จึงต้องมีจัดสถานที่และควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม

          "พวกมันเป็นสัตว์กลางคืน แต่ในธรรมชาติพวกมันอาจจะหากินแทบทั้งวัน แต่ถ้าเลี้ยงในห้องที่มีแสงน้อย ในช่วงกลางวันพวกมันจึงอาจจะออกมาวิ่งเล่นให้เห็นเช่นเดียวกัน การเลี้ยงดอร์เมาส์ควรจัดให้อยู่ในอุณภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 24 องศาเซลเซียส สามารถเลี้ยงในตู้ปลาขนาด 20 นิ้ว ที่ปิดด้วยตะแกรงโลหะขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร เพราะเจ้ากระรอกจิ๋วมีขนาดเล็กมากและหลบหนีได้เก่ง 1 ตู้ เหมาะสมที่สุดสำหรับดอร์เมาส์ 1 คู่ นอกจากนั้น ตะกร้าพลาสติคอย่างหนาที่มีตาข่ายค่อนข้างเล็กก็ใช้ได้ดี โดยใส่วัสดุรองพื้นให้สูงประมาณ 2 นิ้ว จะใช้กระดาษฝอย ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด หรือทรายสำเร็จรูปสำหรับแฮมเตอร์ก็ได้ แต่ควรใส่หญ้าแห้ง เศษผ้า หรือเศษไหมพรมไว้ให้มันคาบไปรองรังนอนด้วย"

          เมื่อเป็นสัตว์แสนซน สิ่งที่ควรจัดให้ดอร์เมาส์เพิ่มเติมก็คือ ของเล่นสำหรับปีนป่าย เช่น กิ่งไม้แห้ง เชือก โพรงไม้ และวงล้อสำหรับแฮมเตอร์ เพราะในธรรมชาติพวกมันจะใช้เวลาส่วนมากปีนป่ายหาอาหารตามพุ่มไม้ ผู้เลี้ยงจึงสามารถนั่งมองเจ้ากระรอกจิ๋วแสดงกายกรรมอย่างร่าเริงได้ตลอด ทั้งคืน และควรหาบ้านไม้สำเร็จรูปหรือกระถางดินเผาเล็กๆ ที่กะเทาะให้มีช่องเข้าออกสำหรับให้มันเข้าหลบซ่อนในเวลากลางวัน เพื่อช่วยลดความเครียด หรือเป็นรังนอนและรังคลอด

          ส่วนอาหารของดอร์เมาส์ตามธรรมชาติมีหลากหลายเช่นเดียวกับสัตว์ฟันแทะทั่วไป เมื่อนำมาเลี้ยงเองคุณปีย์บอกว่า สามารถผสมอาหารเองได้ โดยใช้อาหารเม็ดสำหรับหนูแฮมสเตอร์ อาหารแมวไขมันต่ำ อาหารนกเขา กระดองปลาหมึกตำหยาบ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง อาหารหมูอ่อน และเสริมด้วยผลไม้สด ผลไม้แห้ง นมอัดเม็ด โยเกิร์ต ไก่สุก ไข่ต้ม ผักสด จิ้งหรีด หนอนนก และขนมปัง สลับสับเปลี่ยนกันไป โดยจัดถ้วยอาหารแห้งกับอาหารเปียก ใช้ขวดน้ำแบบปลายลูกกลิ้งที่ทำจากสแตนเลส หรือใส่น้ำในถ้วยเล็กๆ แต่ควรเปลี่ยนทุกวัน

          ดอร์เมาส์ เป็นสัตว์สังคมจึงควรเลี้ยงรวมกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม แต่เมื่อตัวผู้โตขึ้นจะเริ่มทะเลาะกันเพื่อแย่งกันผสมพันธุ์กับตัวเมียที่อยู่ในฝูง (ดอร์เมาส์ พร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุ 6 เดือน ขึ้นไป) คุณปีย์บอกว่าอัตราส่วนในการเพาะพันธุ์ที่ได้ผลดีคือ ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัวเมีย 2 ตัว ซึ่งสามารถสังเกตอาการตัวผู้ได้จากเสียงร้อง "คริกๆ" คล้ายจิ้งหรีด หากผสมแล้วแม่หนูจะตั้งท้องราว 25-30 วัน และออกลูกครอกละ 2-10 ตัว ในต่างประเทศพบว่าดอร์เมาส์มีลูกได้ปีละครั้ง แต่ด้วยอากาศในบ้านเราทำให้อาจจะมีลูกได้ถึงปีละ 3-4 ครั้ง และเจ้ากระรอกจิ๋วอาจมีอายุในที่เลี้ยงได้มากถึง 6 ปี

          "เราจะทำให้ดอร์เมาส์คุ้นเคยกับผู้เลี้ยงได้ โดยแยกลูกหนูออกมาป้อนนมตั้งแต่เล็ก จนสามารถนั่งเล่นบนมือ ป้อนอาหาร และไต่ตามตัวได้ แต่ต้องเริ่มจากช่วงแรกๆ คือไม่เกิน 3 สัปดาห์ หลังจากออกจากท้องแม่ แต่จากประสบการณ์ของผม การนำลูกหนูออกมาป้อนในช่วง 12-15 วัน ลูกหนูจะคุ้นมือเร็วกว่า แต่อัตราการรอดต่ำและกินนมยากกว่า ดังนั้น ควรนำออกมาป้อนช่วง 18-20 วัน จึงจะปลอดภัย อาหารที่ป้อนคือซีรีแล็คสูตรเริ่มต้น หรือจะใช้นมผงสำหรับลูกแมวแทน แล้วผสมกับอาหารเสริมชนิดน้ำสำหรับเด็กก็ทำให้ลูกหนูมีสุขภาพดีได้เช่นกัน"

          เมื่อลูกดอร์เมาส์มีอายุราว 30 วัน แล้วผู้เลี้ยงลองยื่นมือลงไปแต่ถูกงับ!! คุณปีย์บอกว่าไม่ต้องตกใจ เพราะมันจะงับเพียงเบาๆ เพื่อสำรวจอาหาร พอมันโตขึ้นและคุ้นเคยกับเรา อาการงับจะลดลง แต่ก็ขึ้นอยู่กับนิสัยของเจ้ากระรอกจิ๋วแต่ละตัวด้วยเช่นกัน แต่หากมันคุ้นเคยกับคนเลี้ยงแล้ว หากจะนำออกมาเล่น ควรยื่นมือลงไปให้มันรู้ตัวก่อน แล้วจึงรวบส่วนลำตัวขึ้นมาด้วยอุ้งมือ ส่วนตัวที่ไม่คุ้นเคยกับคน ควรกำมือแล้วใช้ร่องระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้รวบหนังบริเวณหลังแล้วยกขึ้น ไม่ควรใช้วิธีจับที่หาง เพราะอาจจะทำให้ดอร์เมาส์แว้งกัด หรือหางขาดได้ และไม่ควรแหย่มือ แบบผลุบโผล่ลงไปในกรง เพราะทำให้หนูตกใจ และอาจจะกัดเพื่อป้องกันตัวได้ และต้องล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง

          "ผู้เลี้ยงหลายคนมักจะทอดทิ้งดอร์เมาส์ของตนเองเมื่อโตขึ้น เนื่องจากพวกมันไม่มีนิสัยออดอ้อนเหมือนสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ แต่กลับชอบซ่อนตัว ไม่ชอบแสง เคลื่อนไหวรวดเร็ว และระแวงตัวสูง เพราะเป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่ตามธรรมชาติ ทำให้มันค่อนข้างตื่นง่าย ชอบซุกซ่อนและกลัวสิ่งที่เคลื่อนไหววูบวาบ แต่ผู้เลี้ยงก็มีความสุขที่ได้ลูบคลำเจ้ากระรอกจิ๋วตัวอ้วน ได้จัดมุมของเล่นในตู้ และนั่งดูมันแสดงกายกรรมอย่างคล่องแคล่ว วิ่งเล่นในวงล้อ หรือนั่งแทะอาหาร ช่วยลดความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานไปได้มาก ถ้าผู้เลี้ยงเข้าใจพฤติกรรมตามธรรมชาติของพวกมันให้ดี และให้เวลากับมันเพียงพอ ก็จะช่วยลดปัญหาการทิ้งขว้างสัตว์ เพราะเริ่มเบื่อหน่ายได้"
ธรรมชาติของดอร์เม้าส์

          ในธรรมชาติดอร์เมาส์จะกินอาหารที่มีความหลากหลายมาก กินทั้งเมล็ดพันธุ์พืช ยอดไม้ไข่นกและแมลง เป็นต้น เมื่อนำมาเลี้ยงในกรงจะใช้อาหารผสมเป็นอาหารหลัก ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถทำได้เองโดยใช้อาหารเม็ดสำหรับหนูแฮมสเตอร์ อาหารแมวไขมันต่ำ อาหารนกเขา กระดองปลาหมึกตำหยาบ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง อาหารหมูอ่อนและเสริมด้วยผลไม้สด ผลไม้แห้ง นมอัดเม็ด โยเกิร์ต ไข่ต้ม ผักสด จิ้งหรีด หนอนนกและขนมปัง สลับสับเปลี่ยนกันไป คุณปีย์ชนิตว์ยังได้บอกว่าปิ๊กมี่ดอร์เมาส์พร้อมที่จะใช้ในการผสมพันธุ์ควรจะมี อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และถ้าเลี้ยงให้ดีจะมีอายุยืนได้ถึง 6 ปี


               ในการจับปิ๊กมี่ดอร์เมาส์เพื่อนำออกมาเล่น ควรยื่นมือลงไปให้เจ้าตัวรู้ก่อนแล้วจึงรวบส่วนลำตัวขึ้นมาด้วยอุ้งมือ ส่วนตัวที่ยังไม่คุ้นกับคนควรกำมือแล้วใช้ร่องระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้รวบหนัง บริเวณหลังแล้วยกขึ้น ไม่ควรใช้วิธีการจับที่หางอาจจะโดนกัดหรือทำให้หางขาดได้ที่สำคัญไม่ควรแหย่มือ แบบผลุบโผล่ลงไป จะทำให้ปิ๊กมี่ดอร์เมาส์ตกใจและอาจจะกัดได้.








น้องเหมียวของไทย

แมวไทย  17  ชนิด


             แมวไทยเป็นแมวพันธุ์แท้ที่สืบเชื้อสายมา จากแมวโบราณ ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นแมวพันธุ์ขนสั้นที่สวยสง่าที่สุดในโลก และแมวไทยยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารัก น่าเอ็นดู มีเสน่ท์ เป็นที่นิยมกันทั่วโลกอีกด้วย แต่คนไทยน้อยคนนักที่จะรู้ว่าแมวพันธุ์ไทยแท้มีรูปร่าง หน้าตาเป็นอย่างไร คนไทยส่วนใหญ่ต่างเข้าใจว่า แมวไทยที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปนั้นคือ แมวไทยพันธุ์แท้ทุกตัว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นแมวลูกผสมเกือบทั้งสิ้น 

            
       ยังมีประเด็นอีกหลายๆ ประเด็นที่ได้ถูกคัดสรรมาให้ผู้รักแมวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปของ แมว ปัญหาทางพฤติกรรมและการติดเชื้อ โภชนศาสตร์และภูมิคุ้มกัน เนื้องอกและโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแมว


แมวไทย คือแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ อุปนิสัย แมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนืออื่นใด คือ รักความอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่ จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนตามที่ใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น สีสันตามตัวของแมวไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณีหรือขาวปลอด นิลรัตน์หรือดำปลอด ศุภลักษณ์หรือ ทองแดง สีสวาดหรือแมวไทยพันธุ์โคราช ต่างล้วนได้รับความสนใจ จากเจ้าของและผู้สนใจทั้งสิ้น
เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อนาย โอเวน กูลด์ (Owen Gould) แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น ในที่สุดก็แพร่หลายไปทั่วโลก และแมววิเชียรมาศก็เป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "Siamese Cat" หรือแมวสยาม นับแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นต้นมา จวบจนถึง สมัยรัชกาลที่ 5 ลาวได้อพยพสู่สยามโดยการกวาดต้อนครัวเรือนชาวลาวไปสยามจำนวนมาก พวกสัตว์ประเภทต่างๆก็คงได้อพยพไปด้วย แมวไทยอาจมีสายเลือดแมวลาวปนอยู่ด้วยอย่างมาก
สำหรับในประเทศไทย คนไทยที่เป็นที่รับรู้ดีว่าชอบเลี้ยงแมวไทย อาทิ เช่น นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายพิชัย วาสนาส่ง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการต่างประเทศ และ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เป็นต้น

ชนิดของแมวไทย




                   แมวไทย (วิฬาร) ที่ยังเหลือให้พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 6 ชนิดคือ วิเชียรมาศ สีสวาด ศุภลักษณ์ โกญจา ขาวมณี และแซมเสวตร แต่แท้จริงแล้วในสมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยว่ามีทั้งหมด 23 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็นแมวให้คุณ 17 ชนิด และ แมวร้ายให้โทษอีก 6 ชนิด




แมวให้คุณ 17 ชนิด



  1. วิเชียรมาศ เมื่อแรกเกิดมีขนสีขาวหมด พอโตขึ้นจะมีสีเปลี่ยนเป็นสีครีมอ่อน ๆ แต่ที่หน้า หาง เท้าทั้งสี่หูทั้งสองข้าง และที่อวัยวะเพศอีก 1 แห่งรวมเก้าแห่งมีสีน้ำตาล (สีเข้ม) มีนัยน์ตาประกายสีฟ้าสดใส เลี้ยงไว้มีคุณค่ายิ่งลำนักหนา จักนำโภคาพิพัฒน์สมบัติเพิ่มพูล
  2. ศุภลักษณ์ หรือ ทองแดง สีขนเป็นสีทองแดงตลอดตัว มีนัยน์ตาเป็นประกาย ใครเลี้ยงจักได้ยศถา ยิ่งพ้นพรรณนาเป็นอำมาตย์มนตรี
  3. มาเลศ หรือ แมวโคราช หรือ สีสวาด มีขนสีดอกเลาเปรียบเสมือนกับเมฆสีเทายามฟ้ายับฝน มีนัยน์ตาหยาดเยิ้มประหนึ่งนำค้างย้ยต้องกลีบบัว ใครพบเร่งให้อุปถัมภ์ แมวนั้นจักนำมาซึ่งสุขสวัสดิ์มงคล
  4. โกนจา หรือ ดำปลอด มีสีดำละเอียด นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม หางเรียวยาว ท่าทางการเดินสง่าเหมือนสิงโต แมวนี้เลี้ยงดีมีคุณหนักหนา จงเร่งหามาเลี้ยงเทอญอย่าแคลงสงสัย
  5. นิลรัตน์ สีดำทั้งตัว รวมถึงเล็บ ลิ้น ฟัน ดวงตา และกระดูก หางยาวตวัดได้จนถึงหัว เลี้ยงไว้แล้วเชื่อว่าจะมีความเจริญ มีทรัพย์ ปราศจากอันตราย
  6. วิลาศ มีลำตัวสีดำจากคอไปตลอดท้อง จากสองหูไปจนถึงหางและขาทั้งสี่มีสีขาว ตาสีเขียว เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะได้เป็นเจ้าคนนายคน มีเงินทองมากมาย
  7. เก้าแต้ม มีสีขาวเป็นพื้น มีแต้มสีดำเก้าจุดที่คอ หัว ต้นขาหน้าและหลังทั้งสองข้างและที่ท้ายลำตัว เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะรุ่งเรืองทางการค้าขาย
  8. รัตนกำพล ตัวขาวเหมือนหอยสังข์ แต่รอบตัวตรงส่วนอกมีลักษณะคล้ายสายคาดสีดำ ตาสีเหลือง เชื่อว่าเลี้ยงแล้วจะมียศ ผู้อื่นยำเกรง
  9. นิลจักร มีลำตัวดำสนิท ที่คอมีขนสีขาวอยู่รอบเหมือนกับปลอกคอ เชื่อว่าเลี้ยงแล้วจะมีทรัพย์มาก
  10. มุลิลา ลำตัวดำ หูสองข้างมีสีขาว ตามีสีเหลืองเหมือนดอกเบญจมาศ เชื่อว่าแมวชนิดนี้เหมาะกับนักบวชเลี้ยงเพราะช่วยให้มีการเล่าเรียนดีสมปรารถนา
  11. กรอบแว่น หรือ อานม้า มีปานลักษณะอานม้าบนหลัง เชื่อว่าแมวชนิดนี้มีราคาสูงถึงแสนตำลึงทองคำ และให้เกียรติยศแก่เจ้าของ
  12. ปัดเสวตร หรือ ปัดตลอด ตัวมีสีดำเป็นพื้น ตั้งแต่จมูกไปตามแนวสันหลังถึงปลายหางมีสีขาว ตาเหลืองคล้ายกับพลอย หากเลี้ยงไว้จะมีความเจริญมากกว่าคนในสกุลเดียวกันและได้ลาภยศ
  13. กระจอก ไม่กระจอกเหมือนชื่อ ลำตัวกลมมีสีดำ รอบปากมีสีขาว ตาสีเหลือง เลี้ยงแล้วเชื่อกันว่าจะได้ที่ดินเงินทอง ไพร่ก็จะได้เป็นเจ้านายคน
  14. สิงหเสพย์ หรือ โสงหเสพย์ ลำตัวมีสีดำ ที่ปาก รอบคอ จมูกมีสีขาว ตาสีเหลือง ท่าทางเดินสง่าเหมือนสิงโต เลี้ยงแล้วมีสิริมงคล
  15. การเวก ลำตัวสีดำ จมูกสีขาว ตาเป็นประกายสีทอง เชื่อกันว่าภายใน 7 เดือนที่ได้มาเลี้ยงจะได้ยศศักดิ์และลาภจำนวนมาก
  16. จตุบท ตัวสีดำ เท้าทั้งสี่มีสีขาว ตาสีเหลืองเหมือนดอกโสน เชื่อว่าให้คุณกับคนเลี้ยง แต่ไม่เหมาะกับคนทั่วไป สมควรเลี้ยงแก่บุคคลชั้นสูงหรือราชินิกูลเท่านั้น
  17. แซมเสวตร มีขนสีดำแซมขาว มีขนบางและสั้น รูปร่างเพรียว มีนัยน์ตาดั่งหิ่งห้อย เลี้ยงดีมีคุณหนักหนา จงเร่งหามาเลี้ยงเทอญอย่าแคลงสงสัย


แมวร้ายให้โทษ 6 ชนิด



  1. ทุพลเพศ มีขนสีขาว ดวงตาสีแดงดั่งโลหิตทาตาไว้ มีนิสัยไม่ดีชอบลักขโมยปลาไปกินทุกคำคืน ใครเลี้ยงไว้จะให้โทษไม่เป็นสุขเกิดความเดือดร้อนแรงผลาญ
  2. พรรณพยัคฆ์ หรือ ลายเสือ มีขนลายเหมือนเสือ ลักษณะขนเหมือนชุบด้วยเกลือกับแกลบ มีนัยน์ตาสีแดงเจือสีเปือกตม มีเสียงร้องเหมือนเสียงผีโป่งร้องอยู่ตามป่าเขา ถือว่าเป็นแมวให้โทษอีกชนิดหนึ่ง
  3. ปีศาจ เป็นแมวที่กินลูกตัวเอง ออกลูกมากี่ตัวกินหมด ลักษณะขนสาก ตัวผอม หนังยาน โบราณจัดเป็นแมวร้ายอย่านำมาเลี้ยงไว้
  4. หิณโทษ เป็นแมวนำมาซึ่งสิ่งเลวร้าย นำภัยพิบัติมาสู่บ้าน ใครเลี้ยงไว้จะไม่เป็นมงคล ออกลูกมามักจะมีลูกตายอยู่ในท้อง
  5. กอบเพลิง เป็นแมวที่ลึกลับชอบซ่อนตัวหลบหลีกผู้คน พอมันเห็นคนมันจะเดินหรือรีบวิ่งหนี ใครเลี้ยงไว้จะมีโทษถึงตัว
  6. เหน็บเสนียด มีลักษณะเหมือนค่าง ชอบเอาหางขดซ่อนไว้ใต้ก้นเสมอ มีรูปร่างพิกลพิการ อย่าเลี้ยงไว้ในบ้านจะทำให้เสียชื่อเสียงและเกียรติยศ

ขาวมณี


          ส่วน ขาวมณี หรือ ขาวปลอด นั้นถึงแม้ไม่มีปรากฏในตำราแมวไทย เพราะเชื่อว่าเพิ่งถือกำเนิดในต้นยุครัตนโกสินทร์นี่เอง แต่ก็จัดว่าเป็นแมวไทยมงคลด้วยเหมือนกัน






วิดีโอ แมวไทย 17 ชนิด


โกลเด้น รีทรีฟเวอร์

น้องหมา น่ารู้ !!!!


เจ้าหมาแสนรู้  ที่ใครใครต้องหลงรัก

   โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) สุนัข พันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก เรามักจะได้เห็น สุนัขพันธุ์โกลเด้น จากโฆษณาหรือภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง ที่มีรูปร่างท่วงท่าสวยงาม หน้าตาน่ารัก ใจดี ขี้เล่น ขนยาวสีเหลืองทอง แถมยังเป็น สุนัข ฉลาด พูดรู้เรื่อง เชื่อฟังคำสั่ง จึงทำให้หลายคนเกิดติดใจอยากหา โกลเด้น มาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนคู่ใจสักตัว ขณะที่หลายคนก็อาจตกหลุมรัก สุนัข พันธุ์นี้ จนมีไว้ในครอบครองหลายตัวแล้วก็ได้
           โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษและสก๊อตแลนด์ โดยมีการบันทึกไว้ในช่วงทศวรรษที่  1860   ซึ่งบันทึกไว้ว่าได้มีคณะละครสัตว์ของรัฐเซีย   ได้นำฝูง สุนัข มาแสดง จนทำให้ท่านลอร์ด  ทวีดมัธ  ( Lord  Tweedmouth ) รู้สึกประทับใจ จึงได้ทำการขอซื้อไว้แล้วนำมาผสมพันธุ์หลายชั่วอายุ  จึงได้สายพันธุ์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ในที่สุด แต่การนำมาผสมกับสายพันธุ์ไหนนั้นยังไม่มีหลักฐานสรุปที่แน่นอน  แต่มีการสันนิษฐานว่า โกลเด้น มีสายเลือดผสมระหว่างสุนัขพันธุ์ Yellow Flat-Coated Retriever และ Light-Coated Tweed Water Spaniels และอาจจะมีสายพันธุ์ของ Newfoundland หรือ Bloodhound ผสมอยู่ด้วย          

           ทั้งนี้ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็น สุนัข ที่มีความเชี่ยวชาญทางน้ำ โดยแต่เดิมเป็น สุนัข ที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์ นายพรานจะใช้ โกลเด้น ไปเก็บเป็ดน้ำที่ยิงได้กลับมา เนื่องจากมีประสาทสัมผัสดีเลิศทั้งในด้านของการฟังเสียง การดมกลิ่นสะกดรอย นอกจากนี้ โกลเด้น ยังมีสายตาอันเฉียบคมและแม่นยำ ด้วยเหตุนี้วงการทหารและตำรวจในหลายๆ ประเทศจึงได้นำ สุนัขพันธุ์โกลเด้น นี้มาฝึกเพื่อไว้ช่วยงานราชการ อาทิเช่น ตรวจค้นยาเสพติด, ดมกลิ่นสะกดรอยคนร้าย, ยามรักษาความปลอดภัย แต่ที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงสุด ก็เห็นจะได้แก่ฝึกให้เป็น สุนัข นำทางคนตาบอด ทั้งนี้เพราะ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขฉลาด และสุภาพ
           โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ หรือที่บางคนเรียก เยลโล่ รีทรีฟเวอร์ ( YELLOW RETRIEVER ) เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในประเทศอังกฤษ จนในปี ค.ศ. 1930 โกลเด้น ก็เริ่มเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา โดยยุคนั้นชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะเลี้ยง โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ไว้เพื่อเป็นนักล่า 

           ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 ได้จัดให้มีการประกวดความสามารถและความฉลาดแสนรู้ของ สุนัข ซึ่งผลปรากฏว่า สุนัข ที่ได้รางวัลที่ 1-3 ล้วนเป็น สุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ทั้งสิ้น จากผลการประกวดในครั้งนั้นทำให้ชาวอเมริกันเริ่มเกิดความตื่นตัว และหันมาให้ความสนใจเลี้ยง สุนัขพันธุ์โกลเด้น เป็น สัตว์เลี้ยง กันมากขึ้น

 ลักษณะทั่วไปของ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์

           โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็น สุนัข ในกลุ่มกีฬา (Sporting Group) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้งานในกีฬาล่าสัตว์ เป็น สุนัข ขนาดกลาง มีอายุเฉลี่ย 12 – 14 ปี ตัวผู้สูงราว 23-24 นิ้ว หนักประมาณ 64-70 ปอนด์ ตัวเมีย สูง 21-23 นิ้ว น้ำหนัก 60-70 ปอนด์ มีสีหลายระดับสี มักจะเป็นสีออกครีมถึงสีเหลืองทอง จนถึงกึ่งเข้มแดงมะฮอกกานี เป็น สุนัข ที่มีลักษณะหัวกว้าง และมีช่วงปากที่แข็งแรง ตาสีน้ำตาล หูค่อนข้างใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ปรกลงมาด้านข้าง มีขน 2 แบบ คือเรียบกับเป็นลอน ขนชั้นนอกแน่น เงา หยิกเป็นลอนเล็กน้อย และราบเรียบไปตามลำตัว กันน้ำได้ดี ขนชั้นในแน่น และกันน้ำได้ดีเช่นเดียวกัน มีขนปุกปุยหนาแน่นบริเวณคอ ขาหน้าตรงแข็งแรง เท้ากลมคล้ายเท้าแมว 

           โครงสร้างลำตัวของ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ จะสั้นกระชับได้สัดส่วน อกลึกและกว้าง ความลึกของอกลึกเสมอข้อศอกขาหน้า ลำตัวเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ช่วงรอยต่อระหว่างจมูก ปาก และหน้าผาก มีความลาดเล็กน้อยไม่ถึงกับหัก สันจมูกเป็นเส้นตรง หนังย่นบริเวณหน้าผากอนุโลมให้มีได้ หนังบริเวณใบหน้าเรียบตึง ฟันมีลักษณะขบกันได้สนิท โดยฟันหน้าบนขบเกยอยู่ด้านนอก ส่วนจมูกมีสีดำหรือน้ำตาลดำ ลักษณะของหูสั้นพอประมาณ ใบหูห้อยปรกลงแนบกับส่วนแก้ม และหางอยู่ในตำแหน่งสูงสุดต่อจากเส้นหลังและหางมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่บริเวณโคนหาง



 โรคและวิธีการป้องกัน

           โรคประจำสายพันธุ์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ที่พบบ่อยๆ คือ โรคข้อสะโพก โรคต้อกระจก โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ โรคเนื้องอกในต่อมน้ำเหลือง
            โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia ) เป็นโรคกระดูกที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ ( Giant and large breed ) โดยพบมากถึง 1 ใน 3 ของโรคกระดูกทั้งหมดใน สุนัข โดยโรคนี้จะมีพัฒนาการในช่วงที่มีการเจริญเติบโต ของกระดูกจึงอาจพบได้ตั้งแต่ 4-12 เดือน

            โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ กล่าวคือ ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ และก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ของร่างกายโดยแสดงออกทางผิวหนัง อาการที่พบคือ สุนัข จะมีอาการขนร่วง เช่น  ข้างลำตัว  รอบก้นและหาง  หน้าอก  ใน สุนัข อายุมากมักพบรังแคกระจายทั่วร่างกาย  อาจพบผิวหนังมีเม็ดสีสะสม  มักพบเป็นสีดำ อาจมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ อ่อนเพลีย  ซึ่งโรคนี้มักพบใน สุนัข อายุ  6-10  ปี แต่ถ้าเป็น สุนัข พันธุ์ใหญ่สามารถพบในอายุน้อยกว่า  6  ปีได้ ดังนั้น หาก สุนัข ของคุณมีอาการดังนี้  แนะนำให้พา สุนัข มาตรวจกับสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาจะดีที่สุด

            โรคเนื้องอกในต่อมน้ำเหลือง พบได้ทั้งชนิดที่ไม่รุนแรงและชนิดที่เป็นมะเร็ง ลักษณะที่พบคือ เป็นเนื้องอกขอบไม่เรียบและมีสีต่างๆ สามารถพบเนื้องอกที่บริเวณผิวหนังของศีรษะ ปลายเท้า หลัง และภายในช่องปาก ซึ่งโดยมากแล้วมักพบในช่องปากของสุนัข โดย สุนัข จะมีน้ำลายไหลมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก น้ำหนักลด มีเลือดออก ฟันหลุด และไม่สามารถกินอาหารได้ ซึ่งหากผู้เลี้ยงพบอาการดังกล่าวมานี้ ควรรีบพา สุนัข ไปรักษาโดยเร็ว เพราะหากเป็นเนื้องอกชนิดที่มีเชื้อมะเร็ง จะมีอัตราการเสียชีวิตสูง การรักษาทำได้โดยการผ่าตัดกรณีเชื้อยังไม่แพร่กระจาย แต่หากเชื้อแพร่กระจายแล้วจะใช้วิธีเคมีบำบัด

            โรคต้อกระจก มักเกิดกับ สุนัข ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยจะมองเห็นแก้วตามีลักษณะขุ่นขาว ซึ่ง สุนัข ยังพอมองเห็นได้ แต่ถ้าแก้วตาขุ่นเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้มองไม่เห็น เนื่องจากแสงไม่สามารถผ่านเข้าไปยังจอรับภาพได้ ทั้งนี้สาเหตุเป็นเพราะโรคเบาหวาน หรือได้รับบาดเจ็บ มีแผลที่ตา อย่างไรก็ตาม โรคต้อกระจกอาจจะพบได้ใน สุนัข อายุน้อยตั้งแต่เกิดจนถึง 3 ปี เนื่องจากเป็นมาตั้งแต่เกิด สำหรับการรักษา ควรรีบพา สุนัข ของคุณไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรับการตรวจและรักษาทันที หากปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้การรักษายากขึ้น และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดได้





วีดีโอ ฟาร์ม โกลเด้น





เรื่อง แมว แมว



เรื่อง ของน้องเหมียว


เรื่องน่ารู้ พฤติกรรมแมว (Cat Magazine)



   การที่คนเราใกล้ชิดคุ้นเคยกับแมวไทย จะทำให้สามารถรับรู้ถึงพฤติกรรมต่าง ๆ และเข้าใจความหมายเหล่านั้นที่แมวไทยแสดงออกมาได้ทำให้เกิดความรัก ความเอ็นดูโดยที่เราไม่รู้ตัว ผู้ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับแมวไทยจะไม่เข้าใจสิ่งนี้ ดังนั้น ผู้ที่เพิ่งเริ่มเลี้ยงแมวไทยควรจะทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมและธรรมชาติของแมวไทยที่ตนเองเลี้ยงไว้ ซึ่งแมวไทยมักมีพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้


 1. การส่งสัญญาณโดยใช้กลิ่น


           การส่งสัญญาณโดยการใช้กลิ่นของแมวนั้นเกิดขึ้นมาจากการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม แมวจะมีต่อมกลิ่นอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณแก้ม คาง เท้า และโคนหาง ซึ่งจะผลิตฮอร์โมนออกมา กลิ่นเหล่านี้จะทำหน้าที่ช่วยให้แมวจำกันได้ ซึ่งมีผลกับแมวดังนี้คือ

           - การทักทายของแมว เมื่อแมว 2 ตัวมาเจอกัน เขาจะทำการทักทายกันด้วยการสัมผัส โดยใช้ หัว คาง แก้ม และสีข้างทำการถูตัวไปมาแมวตัวที่อายุน้อยกว่าโดยส่วนมากจะเป็นฝ่ายที่ใช้หลังของเขาถูคางของแมวที่มีอายุมากกว่า กรณีที่เราเลี้ยงแมวในกรง เราอาจจะเห็นเหตุการณ์นี้บ่อยๆ เมื่อเราเดินผ่านกรงแมว คือแมวลุกขึ้นแล้วพยายามเดินตามเราโดยการเอาตัวถูกรงเดินตามเรา นั่นคือการที่เขาต้องการทักทายเราซึ่งเป็นเจ้าของเขานั่นเอง

           - การแสดงความแข็งแรง เมื่อแมวต่อสู้กัน แมวตัวที่ชนะนั้นจะทำการปล่อยกลิ่นหลายๆ ครั้งในบริเวณนั้น เพื่อเป็นการแสดงอาณาเขต ความมั่นใจ และความแข็งแรงให้คู่ต่อสู้ได้เห็น ส่วนฝ่ายที่แพ้ก็อาจจะแอบมาปล่อยกลิ่นทับบริเวณนั้น โดยจะคอยหลบไม่ให้ตัวที่ชนะเห็น

           - การแสดงอาณาเขต แมวตัวผู้มักจะทำการแสดงอาณาเขตโดยการปล่อยกลิ่นเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในบริเวณนั้น โดยที่เขาจะยกหางขึ้นตั้งให้ตรงและแกว่งไปแกว่งมา พร้อมกับปล่อยของเหลวจากต่อมใต้โคนหาง กลิ่นนี้จะคงอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็จะจางหายไป

2. การทำความสะอาด 


           แมวเป็นสัตว์ที่รักความสะอาด ในแต่ละวันแมวจะใช้เวลาในการทำความสะอาดตนเองมาก ในน้ำลายแมวจะมีสารที่ชื่อว่า "ดีเทอร์เจนต์" สารชนิดนี้จะทำหน้าที่ช่วยทำให้ขนของแมวสะอาดและมีกลิ่นหอม โดยในแต่ละวันแมวจะใช้ลิ้นเลียขนของตัวเองเพื่อขจัดสิ่งสกปรกและขนที่หมดสภาพให้หลุดออกไป และเนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่มีต่อมเหงื่อเฉพาะบริเวณอุ้งเท้าเท่านั้น การเลียขนจึงเป็นการช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายแมวอีกด้วย แมวสามารถใช้สิ้นของเขาเลียได้ทุกส่วนยกเว้นบริเวณหัว แต่เขาสามารถแก้ปัญหาได้โดยการเลียเท้า และใช้เท้าทำความสะอาดส่วนหัวที่ไม่สามารถเลียถึงได้ สำหรับบ้านที่เลี้ยงแมวมากกว่า 1 ตัวขึ้นไปนั้น อาจจะเห็นแมว 2 ตัว ผลัดกันเลียขนของกันและกันในบริเวณที่เอื้อมไม่ถึงความสะอาดของตัวแมวนั้นตามธรรมชาติมีประโยชน์อย่างมากกับการล่าเหยื่อ เพราะแมวจะไม่ติดตามเหยื่อ แต่เขาจะใช้วิธีชุ่มจับ ดังนั้นแมวจึงต้องรักษาความสะอาดของตัวเองเพื่อที่ว่าเหยื่อจะไม่ได้กลิ่นตัวของแมวนั่นเอง





 3. การลับเล็บ 
           แมวส่วนมากมักจะชอบทำลายข้าวของ เช่น ตะกุยเก้าอี้หรือเฟอร์นิเจอร์การกระทำเหล่านี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้เป็นเจ้าของ แม้ว่าเราจะไม่โกรธเขาก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือพฤติกรรมการลับเล็บของแมว เพื่อทำการขัดเล็บเก่าออกไปให้เล็บใหม่ขึ้นมา สังเกตได้ว่าเราจะพบเศษเล็บของแมวอยู่ตามเฟอร์นิเจอร์อยู่บ่อยๆ และแมวจะทำการปล่อยกลิ่นจากต่อมเหงื่อที่มีกลิ่นพิเศษ เพื่อให้แมวตัวอื่นรู้ว่าเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้มีเจ้าของ

4. การเคล้าแข้งเคล้าขา

           พฤติกรรมการเคล้าแข้งเคล้าขาคนนั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการแสดงออกถึงความเป็นมิตร แต่บางครั้งยังเป็นการปล่อยกลิ่นมาจากต่อมกลิ่นที่อยู่บริเวณขมับและที่โคนหางให้ติดตามตัวคน หลังจากที่ทำการปล่อยกลิ่นใส่แล้ว จะช่วยทำให้แมวอารมณ์ดี สังเกตได้จากเสียงครางเบา ๆ ในลำคอของแมว

5. การแสดงออกทางใบหน้า

           ใบหน้าของแมวสามารถบ่งบอกอารมณ์ต่าง ๆ ที่แสดงออกมาดังนี้

 หนวด

           1. หากหนวดมีลักษณะไปอยู่ด้านข้างเป็นพุ่ม แสดงถึงความสงบสบายใจและความเป็นมิตร
           
           2. หากหนวดมีลักษณะลาดและรวบไว้ข้างแก้ม แสดงถึงว่าตอนนี้อยู่ในท่าที่ระมัดระวัง หรืออาย

           3. หากหมวดมีลักษณะแผ่ออก แสดงว่ากำลังสนใจอะไรบางอย่างหรือว่ามีสิ่งที่น่าตื่นเต้น

 หู

           หูเป็นส่วนที่สามารถรับรู้ได้ไวมาก

           1. ถ้าหากหูมีลักษณะยกยื่นไปข้างหลังนั้น เป็นการเตือนภัยว่ามีศัตรูอยู่บริเวณนี้

           2. หากหูมีลักษณะโค้งกลับหรือลู่ลงข้างๆ ลำตัว เป็นการแสดงถึงการป้องกันตัวและพร้อมที่จะต่อสู้


ตา

           1. ม่านตาลดลง แสดงถึงความตึงเครียดหรืออาจจะกำลังสนใจบางสิ่งบางอย่างอยู่

           2. ม่านตาเปิดกว้าง แสดงถึงอาการตกใจกลับ หรือกำลังเตรียมพร้อมป้องกันตัว

           เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับพฤติกรรมของแมวไทยในฉบับนี้เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านก็คงจะเคยพบเจอจากเจ้าเหมียวในครอบครัวกันมาแล้วทุกข้อ จนอาจสงสัยว่าที่กล่าวมานี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมของแมวทั่วไป ไม่ถึงกับจำเพาะว่าต้องเป็นแมวไทย แมวที่ไหนก็มีพฤติกรรมแบบนี้กันทั้งนั้น ความสงสัยของท่านถูกต้องแล้วครับ เพราะแมวเหมียวที่เราเห็นกันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแมวจรตามท้องถนน แมววัด หรือพันธุ์ผสมพันทางในบ้านเรา นั้นมีสายเลือดของแมวไทยผสมอยู่ แต่ถ้าได้ลองเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของแมวต่างประเทศสายพันธุ์แท้นั้นจะแตกต่างกันมากครับ ซึ่งผู้เขียนจะหยิบยกรายละเอียดมากล่าวถึงในโอกาสต่อไป เนื่องจากผู้เขียนได้เตรียมต้นฉบับสำหรับหัวข้อนี้ไว้ยาวพอสมควร จึงจะขอแบ่งเป็นหลาย ๆ ตอน แล้วเล่าไปเรื่อย ๆ ตามลำดับก็แล้วกันนะครับ สำหรับฉบับนี้ต้องขอลากันไปแต่เพียงเท่านี้นะครับ


เพลงแมวเหมียว





ชูก้าร์ ไกรเดอร์


สัตว์เลี้ยงของฉัน ชื่อ น้องแฟบ  เพศผู้ ^^


สัตว์เลี้ยง น่ารัก 


ชื่อสามัญ : Sugar Glider
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Petaurus Breviceps
ถิ่นกำเนิด : ออสเตรเลีย นิวกินี อินโดนีเซีย
อาหาร : ผลไม้รสหวาน แมลงหรือหนอนตัวเล็กๆ
อุปนิสัย : เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน และ สัตว์สังคม
รูปร่าง : โตเต็มวัยจากจมูกถึงหางยาวประมาณ 13-18 นิ้ว
อายุ : ประมาณ 10-15ปี


นิสัยของชูการ์ไกรเดอร์

มาดูนิสัยของชูการ์กันก่อนนะ เราจะแบ่งนิสัยออกเป็นช่วงอายุ ดัีงนี้
นิสัยโดยรวม ลักษณะนิสัยของชูการ์ พวกนี้คือ ขี้เล่น ซุกซน ชอบกัดแทะ (เป็นบางตัว) 
ชอบปีนป่าย ชอบอยู่รวมกลุ่มกัน ขี้อ้อน ขี้ตกใจ และที่สำคัญที่สุดที่ทุกตัวต้องเป็นคือ “ ขี้เซา ”


การตัดเล็บชูการ์

1. เริ่มต้นจาการหาผ้ามาคลุมตัวเค้าไว้แบบนี้
2. อย่าให้หัวโผล่มาได้ ไม่งั้นเค้ากัดเราแน่ !!
3. ค่อย ๆ ดึงนิ้วออกมาทีละนิ้วแบบนี้
4. เตรียมกรรไกรตัดเล็บ หรือ กรรไกรตัดหนัง (ของคน) ไว้ให้พร้อม
5. ใช้กรรไกรค่อย ๆ เล็มบริเวณปลายเล็บ นิดเดียวนะ ประมาณ 0.01 ml.
6. ค่อย ๆ ตัดไปจนครบหมดทุกนิ้ว อาจจะต้องมีการบังคับฝืนใจกันหน่อย      

   เทคนิคง่าย ๆ ในการตัดเล็บ คือ ชูการ์ไม่ค่อยชอบเวลาตัดเล็บเป็นอย่างมากควรจะตัดเวลานอนจะดีที่สุด
   

การดูเพศชูการ์ไกรเดอร์

ตัวเมีย จะมีกระเป๋าที่หน้าท้อง ตอนที่อายุน้อยจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเพราะขนยังขึ้นไม่เต็มที่ และเมื่ออายุโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้ยากเพราะขนจะขึ้นปรกคลุมบริเวณนั้น
ตัวผู้    จะมีลูกอัณฑะอยู่บริเวณหน้าที่ (ตำแหน่งเดียวกับกระเ๋ป๋าหน้าท้องของตัวเมีย) และลงมาจะเป็นอวัยวะเพศจะมีลักษณะเป็นเส้น 2 เส้น จะหดอยู่อยู่ในบริเวณทวารหนัก เมื่อโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะตัวผู้มักจะเอาออกมาทำความสะอาดอยู่บ่อย ๆ


เรื่องการสืบพันธุ์ของชูการ์

ในช่วง ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือน พฤศจิกายน จะเข้าสู่ช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับตัวเมียได้หลายตัว ชูการ์จะใช้ระยะเวลาในการทั้งท้อง 
ประมาณ 16 วัน ถึง 21 วัน เมื่อคลอดลูกออกมาแล้วลูกจะคลานเข้าสู่กระเป๋าหน้าท้องของแม่
- ตัวผู้พร้อมผสมพันธ์ โดยประมาณ 10เดือน
- ตัวเมียพร้อมผสมพันธ์ โดยประมาณ 8เดือน หรือ 1ปี 


วิธีง่ายๆในการดูชูการ์ไกรเดอร์ท้อง

ฝื่นใจน้อง ปลิกระเป๋าส่วนหน้าท้อง ถ้ามีตุ่มๆ แสดงว่าน้องกำลังตั้งท้อง  แต่ถ้าปลิออกมาแล้วเป็นปกติ(แห้งๆไม่มีตุ่ม) 
แสดงว่าไม่ได้ ท้อง  หรือ ถ้าปลิแล้ว เจอแดงๆ อย่าตกใจนะค่ะนั้นคือเด็กๆค่ะ



ผลไม้ที่เหมาะสมสำหรับชูการ์
ผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ฝรั่ง มะม่วงสุก องุ่นแดง แคนตาลูป แตงโม ชมพู่ อโวกาโด เงาะ ข้าวโพดต้มสุก
ลำใย ขนุน ทุเรียน ผลไม้เหล่านี้ให้ทานได้เป็นกระสัย อย่าให้ทานมากไป
นอกจากเค้าจะทานเนื้อผลไม้แล้วเรายังสามารถให้ทานน้ำ ผลไม้ได้ด้วย ไม่ว่าจะโดยการคั้นหรือปั่นเองและเป็นแบบกล่อง (ต้อง 100% เท่านั้น) เช่น น้ำผลไม้แท้ 100% ยี่ห้อต่าง ๆ



อาหารของ ชูการ์ไกรเดอร์

 ตามธรรมชาตินั้น จะหากินกลางคืนและจะกิน ยางไม้ แมลง และเกสรดอกไม้ต่าง ๆ ได้แยกการกินออกเป็นช่วงอายุดังนี้
อายุตั้งแต่ แรกเกิด – 4 เดือน
อาหารสำหรับชูก้าเด็กนั้นคือ ซีลีแลค เพียงอย่างเดียว เพราะกะเพา่ะชูก้าเด็กยังปรับตัวได้ไม่ดีจึงไม่แนะนำ ให้ทานอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้
อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
อาหารสำหรับชูก้าโต จำแนกดังนี้
- ซีลีแีลค Carnivorous Care
- ผลไม้ ที่มีรสหวาน เช่น ชมพู่ แตงโม องุ่น ขนุน เงาะ ลำใย ฝรั่ง เป็นต้น
- หนอน แมลง อื่น ๆ เช่น หนอน waxworm ตัวอ่อนผึ้ง จิ้งหรีด เป็นต้น
- เสริม เช่น ยางไม้ เกสรผึ้ง เป็นต้น





วิดีโอ  ชูก้าไกรเดอร์